วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำถาม




ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หมายถึง สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์

คำถาม  เพราะสาเหตุใดวัยรุ่นไทยจึงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและตบตีกันแย่งสามีกันบ่อยๆ



สาเหตุ  ของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน


การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องใน วัยทีน

คือตั้งครรภ์เมื่ออายุ 19 ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ 10-30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก
ใน 10 ปีมานี้ ท้องในวัยทีนในประเทศไทย มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

จากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ.2536 เป็นกว่าร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง 12 ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีน ได้แก่
ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก ปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้ เป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องวัยทีนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น


ทำไมวัยทีนไม่ควรท้อง?

นอกจากเหตุผลทาง การแพทย์ เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอดสูงกว่าคนทั่วไป (แท้ง ทารกพิการ น้ำหนักน้อย ขาดอาหาร ทารกตายในครรภ์ คลอดยาก ตกเลือดหลังคลอด ฯลฯ) เหตุผลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยา (มารดาต้องหยุดเรียน รายจ่ายสูง รายรับน้อย ครอบครัวยากจนยิ่งขึ้น มารดาเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทำแท้งเถื่อน ทารกถูกทอดทิ้ง ทารกไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทารกเติบโตมาเป็นปัญหาของสังคม ฯลฯ) ยังมีเหตุผลของปัจเจกบุคคล ส่ง ผลให้ท้องวัยทีนสร้างบาดแผลอันเจ็บปวดแห่งความทรงจำไม่รู้ลืม แก่ทั้งตัววัยทีนและผู้ปกครอง

ทำไมวัยทีนจึง ท้อง?
ใน วัยรุ่นที่สมัครใจมีเพศสัมพันธ์ พบเหตุผลใหญ่ๆ 2 ประการ คือ
1. มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด บ้างไม่รู้ ว่ามีเพศสัมพันธ์แล้วท้อง บ้างเชื่อโดยไม่มีเหตุผลว่าตนเองไม่ท้อง บ้างคุมกำเนิดไม่เป็น บ้างไม่สนใจคุมกำเนิด บ้างไม่สามารถเข้าถึงการบริการคุมกำเนิด บ้างกลัวการคุมกำเนิด ฯลฯ
2. มีความเชื่อที่ผิดๆ ในการคุมกำเนิดทั้งในวัยรุ่นหญิงชาย เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัยเพราะกลัวถูกว่าสำส่อน รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ทำให้เป็นฝ้า มดลูกแห้ง ฯลฯ
ทำไม วัยทีนส่วนหนึ่งจึงเลือกไม่มีเพศสัมพันธ์?

 การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ

1. เป็นความตั้งใจของวัยทีนแต่ละบุคคล บ้างเชื่อมั่นในคุณค่าของพรหมจรรย์ บ้างเชื่อฟังคำสั่งสอนพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนา
2. กลัวการตั้งครรภ์
3. กลัวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4. ฝ่ายชายไม่เร่งเร้า (วัยรุ่นหญิง 3 ใน 4 คนที่มีเพศสัมพันธ์ ให้เหตุผลว่าเพราะฝ่ายชายขอ)
ทำอย่างไรจึงป้องกันท้องใน วัยทีน?...ผู้เขียนขอเสนอ 14 วิธีป้องกันท้องในวัยทีน ดังนี้

1. ประชาชนทุกคนต้องเห็นความสำคัญของการป้องกันท้องในวัยทีน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่จะช่วยกันอบรมสั่งสอน (เท่าที่จะเป็นไปได้) สอดส่องดูแลความประพฤติของวัยรุ่น ช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งผู้ปกครอง สถานศึกษา ตำรวจ ฯลฯ เมื่อพบความเสี่ยง
2. สังคมต้องมีส่วนรับผิดชอบ เช่น ลดการยั่วยุทางกามารมณ์ ไม่ปากว่าตาขยิบกับวัยรุ่น ไม่ว่าในสถานบันเทิง การขายสุรา การมั่วสุมในที่ต่างๆ ฯลฯ
3. ครอบครัวต้องถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่จะดูแลลูกหลานวัยรุ่นของตนเองอย่าง ใกล้ชิด ความรักและความใกล้ชิดทำให้ตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก
4. พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจจิตวิทยาของวัยรุ่น ต้องพัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี การใช้ชีวิต ฯลฯ
5. หากมีลูกหลานเป็นชาย ควรสอนเขาตั้งแต่เด็ก ถึงความเป็นสุภาพบุรุษ ไม่ล่วงเกินเพศตรงข้าม หากยังไม่พร้อมและไม่สามารถรับผิดชอบเลี้ยงดู สร้างครอบครัวได้
6. สร้างค่านิยมไม่มีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น คนเก่งต้องรู้จักเซย์โน สนับสนุนการสร้างปณิธานให้รักษาพรหมจรรย์จนถึงวัยอันควร โดยใช้ความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว, หลักการทางศาสนา, จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ฯลฯ
7. สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องสนับสนุนองค์ความรู้ทางเพศศึกษา (รวมถึงการคุมกำเนิด) ที่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนที่นักเรียนจะเข้าสู่วัยรุ่น
8. รัฐบาล ต้องถือว่าการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นนโยบายสำคัญ มีงบประมาณ กลยุทธ์ สนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้อง และมีการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
9. สื่อต่างๆ ควรสนับสนุนบทเรียนและการเรียนรู้ทางเพศศึกษาที่ถูกต้อง โดยมีดารานักร้อง ฯลฯ เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่วัยรุ่น
10. นักเขียน นักแสดง ผู้จัดละคร ภาพยนตร์ ควรเสนอบทเรียนของการตั้งท้องวัยทีนให้แพร่หลาย ในหลากรูปแบบงานวรรณกรรม บันเทิงคดี ฯลฯ
11. สถานพยาบาลควรมีคลีนิคให้คำปรึกษาวัยรุ่น ที่สามารถติดต่อปรึกษาได้ทุกเมื่อ
12. แพทย์พยาบาลผู้ให้บริการต้องไม่มีอคติต่อวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน ควร
13. มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยปรึกษาหาทางออกให้ เมื่อวัยรุ่นพลาดพลั้งตั้งครรภ์
14. ล้อมรั้วด้วยรัก อภัย เข้าใจ และเห็นใจ ทั้งจากคนในครอบครัว และคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจและให้กำลังใจ ทำให้วัยรุ่นที่เสียตัวไปแล้วไม่ตั้งครรภ์ ที่ตั้งครรภ์ไปแล้วก็จะไม่ท้องในวัยทีนซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง

ที่ มาข่าว http://variety.teenee.com/foodforbrain/26129.html


ปัญหาหลัก ของปัญหาการทะเลาะวิวาท

     ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น"เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน 


สาเหตุ:  เงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น 
5. มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง 
6. เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
7. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ
แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น 
สรุปได้ว่า
การทะเลาะวิวาทนั้นมากจากหลายๆสาเหตุซึ่งสาเหตุต่างๆนั้นเราสามารถช่วยกันแก้ไขได้เช่น การที่นักเรียนนักศึกษาทะเลาะกันเราก็สามารถสร้างจัดกิจกรรมโดยรวมสถาบันที่ผิดใจกันและนำมารวมกันเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรักกัน การที่เราช่วยกันจะทำให้ให้เด็กนักเรียนมีอนาคตขึ้นและยังทำให้สังคมไทยหน้าอยู่ยิ่งขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม:
1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้
2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้“โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ
4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
สรุปได้ว่า
การที่เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บมีผู้เสียชีวิตและทำให้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนอยู่เรียนไม่จบเพราะปัญหาการทะเลาะวิวาทเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย นักเรียนนักศึกษาก้าวราวต่อพ่อแม่ นักเรียนนักศึกษาก่ออาชญากรรมขึ้น

วัยรุ่นตีกัน สาเหตุ...ความอดทนต่ำ เอาแต่ใจ
ความอดทนต่ำ-เอาแต่ใจ แนะพ่อแม่เอาใจใส่กลุ่มเสี่ยงและเด็กเก็บกด ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นอาชญากร
กล่าวถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ยกพวกตีกันของวัยรุ่นซึ่งรุนแรงมากขึ้นว่า เกิดจากหลากหลายปัจจัย อาทิ ปัจจัยภายใน คือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน พื้นฐานอารมณ์ เช่น อารมณ์ร้อน อารมณ์เย็น หรือหวั่นไหววิตกง่าย ซึ่งติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด
"ที่สำคัญคือวัยรุ่นไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเมื่อใดที่เด็กหรือวัยรุ่นมองไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง และถูกดูแคลนว่าด้อยความสามารถ พวกเขาก็จะแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ทั้งจากสังคมทั่วไปและจากภายในกลุ่มเพื่อน การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ยกพวกตีกัน เป็นวิธีการหนึ่งที่คิดและทำได้ง่าย ทำให้รู้สึกเด่นดัง เพื่อนเห็นความสามารถและได้รับการยอมรับ"
ในด้านปัจจัยแวดล้อมภายนอก คือสภาพครอบครัว ระบบการศึกษา และสังคม ที่สร้างความกดดันให้แก่เด็กหรือวัยรุ่น เช่น การบังคับหรือลงโทษ กวดขันอย่างเข้มงวด ปิดกั้นไม่ให้อิสระ การถูกตำหนิหรือต่อว่าจากสังคม การปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง หรือในทางตรงข้าม การตามใจจนเกินเหตุ รวมทั้งสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงรอบด้านที่เด็กเห็นจนชินชา เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ใช้กำลังในการแก้ปัญหาได้ทั้งสิ้น
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างความอดทนกับความก้าวร้าวของเด็ก ความอดทนและความก้าวร้าวสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะเมื่อไม่ได้อะไรดั่งใจ ทนไม่ได้ อึดน้อย ก็ต้องระบายออกถึงความผิดหวัง เสียใจ ซึ่งแต่ละคนก็จะแสดงความก้าวร้าวรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน อาจโวยวาย ด่าว่า ทำร้ายตัวเอง และทำร้ายผู้อื่นในที่สุด ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน จึงต้องฝึกความอึดหรือความอดทนให้กับเด็กโดยไม่ตามใจหรือช่วยเหลือมากเกินไป ควรให้พวกเขาเจอกับปัญหาอุปสรรคบ้าง เพื่อให้รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนใน
10
การรอคอย มีระเบียบวินัยในตนเอง ก่อนที่เขาจะแสดงความก้าวร้าวรุนแรงเกินเหตุจนกลายเป็นอาชญากรที่เราคาดไม่ถึง
"การสังเกตว่าเด็กหรือวัยรุ่นจะมีแนวโน้มเป็นคนก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาหรือไม่นั้น นอกจากการสังเกตได้ง่ายจากเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่แล้ว เช่น ชอบก่อกวน โหดร้ายทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ทำลายข้าวของ ขู่คุกคาม ไม่เคารพกฎระเบียบต่างๆ เด็กวัยรุ่นที่เก็บตัว เก็บกด ไม่เคยได้ระบายความรู้สึกออกมาอย่างเหมาะสม ก็เป็นกลุ่มเด็กที่น่าเป็นห่วงและควรเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน เพราะมีโอกาสที่จะแสดงความก้าวร้าวรุนแรง เป็นอันตรายต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคมได้ทุกเมื่ออย่างน่ากลัว
ต่อแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น อย่าโยนความผิดให้เด็กเพียงอย่างเดียว ก่อนอื่นต้องแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นปัญหามาก เป็นหัวโจก ปลุกระดม กับกลุ่มเด็กปกติ หรือกลุ่มเด็กที่มีแนวโน้มจะก่อความก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งเด็กกลุ่มแรกอาจต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายมาช่วยแก้ จะเป็นหนทางหนึ่งในการฝึกความอดทนและเป็นระเบียบวินัย ให้เด็กเกิดการยอมรับว่าเขาทำผิด ก็ต้องได้รับผลจากการกระทำความผิดนั้น ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายจะมีเรื่องการฟื้นฟูจิตใจให้ดีขึ้น ทั้งการปรับพฤติกรรมและอารมณ์ เพื่อให้ผู้กระทำผิดออกมาเป็นคนดีของสังคม ขณะที่ครอบครัว ชุมชน สังคม ก็ต้องให้การยอมรับ ไม่ตีตรา ตอกย้ำ ดูถูกเหยียดหยามถึงความผิดของพวกเขา เพื่อให้พวกเขามีโอกาสที่จะปรับตัว สามารถกลับมาเป็นคนดีของสังคมได้
สรุปได้ว่า
เด็กกลุ่มปกติหรือมีความเสี่ยง ก็ควรมีการส่งเสริมป้องกัน โดยมีพื้นที่ให้เด็กหรือวัยรุ่นได้ทำกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณค่าให้แก่ตัวเอง มากกว่าการคอยห้ามปรามหรือตำหนิพวกเขา ในส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เข้าใจธรรมชาติของเด็ก ช่วยพวกเขาหาตัวตนให้ได้ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ การเสริมทักษะชีวิต มีกิจกรรมเสริมให้เรียนรู้ถึงผลที่จะได้รับจากการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา กิจกรรมฝึกความอดทน แยกแยะความถูกผิด รู้จักการให้อภัย สร้างระเบียบวินัยให้ตนเองได้ สำหรับเด็กและกลุ่มเพื่อนก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างคุณค่าในตัวเอง และช่วยลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยการปลูกฝังความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน คอยเตือนกันเมื่อเพื่อนจะทำผิด ชักจูงเพื่อนให้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ที่เกิดจากความต้องการของเด็กเอง
11
“นมแม่” ลดความขัดแย้งเด็กตีกัน
• ครอบครัว
ชี้!! การสัมผัสใกล้ชิดช่วยพัฒนาอีคิว
นมแม่ช่วยในเรื่องการของที่เด็กโตขึ้นมาชอบทะเลาะวิวาทลดความขัดแย้งกัน เพราะจากข้อมูลวิชาการพบว่า นมแม่มีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว
อีกทั้งการได้รับความรัก การสัมผัสใกล้ชิดจากมารดาขณะให้นมบุตรก็มีสานสัมพันธ์มีส่วนช่วยในการพัฒนาอีคิวด้วย ซึ่งแนวโน้มอีคิวของเด็กไทยน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
เด็กตีกันเกิดจากปัจจัย 3-4 เรื่องได้แก่
1.ความแค้น โดยขาดการเจรจาต่อรอง ขาดอีคิวยับยั้งชั่งใจ
2.รุ่นพี่ทำตัวเป็นฮีโร่ในทางที่ผิด
3.เรื่องของศักดิ์ศรีของสถาบันการศึกษา
4.การสร้างปมขัดแย้งของเด็ก โดยวิธีแก้ไข ไม่ใช่ต่อหน้าก็มาจับมือกัน แต่แท้จริงแล้วมือเย็นเฉียบ แต่เดี๋ยวก็ตีกันใหม่ แต่อยู่ที่การพัฒนาทักษะด้วยการสร้างฮีโร่รูปแบบใหม่ ไม่ใช่นำรุ่นพี่ที่ตีกันมาเป็นฮีโร่
ทั้งนี้ ต้องแยกรุ่นพี่เหล่านี้ออกจากรุ่นน้องเพื่อไม่นำเป็นแบบอย่าง และนำพลังที่มาใช้ตีกันสร้างสรรค์ความดีงาม
สรุปได้ว่า
นมแม่มีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว ซึ่งการที่แม่ให้นมลูกจะช่วยปลูกฝังให้เด็กไม่รู้สึกโดดเดี่ยวการที่พ่อแม่ให้ความรักตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กรู้สึกว่าอบอุ่นไม่ได้อยู่คนเดียว เพราะการที่พ่อแม่แยกทางกันมักทำให้เด็กรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนไม่ได้ความรัก รู้สึกว่าตัวเองเกิดมาทำไหมเมื่อตัวเองคิดอย่างนี้ก็เริ่มทำตาม รุ่นพี่หรือคนอื่นในสังคมเพราะการที่เขาอยู่คนเดียวทำให้ไม่มีใครอบรมสั่งสอนเขาจึงทำตามโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิดหลงทำตามโดยไม่คิดคำนึงก่อนจึงเป็นปัญหาการทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นจนมาถึงปัจจุบัน
12
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา การทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา
จากการที่นักเรียนนักศึกษามีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายกันบางกรณีมีผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงขั้นทุพพลภาพและถึงแก่ชีวิตนักเรียนนักศึกษาบางรายเป็น ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหรืออยู่ในเหตุการณ์ก่อให้เกิดการเสียขวัญและเป็นที่วิตกกังวลของผู้ปกครองและสังคมทั่วไปนั้นกระทรวงศึกษาธิการตระหนักในปัญหาดังกล่าวจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาประกอบด้วย
มาตรการเชิงรุก
1. ให้สถานศึกษาจัดทำข้อมูลประวัติของนักเรียนนักศึกษาทุกคนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษากลุ่มเสี่ยงที่จะกระทำความผิดต้องมีข้อมูลเชิงลึกพร้อมภาพถ่ายและประวัติผู้ปกครอง จัดส่งให้สถานีตำรวจในพื้นที่ ศูนย์เสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ปกครองได้รับทราบและร่วมกันแก้ไขปัญหา รวมทั้งเป็นการป้องปราม โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน
2. จัดให้มีการติดตามเฝ้าระวังจุดเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยง ที่นักเรียนนักศึกษาจะกระทำความผิด ทั้งนี้ให้ตำรวจท้องที่ เจ้าหน้าที่ศูนย์เสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่เทศกิจพิทักษ์ นักเรียนของกรุงเทพมหานครประสานงานร่วมกันในการสุ่มตรวจตรวจจุดเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยง หากปรากฏพบว่ามีนักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับใบอนุญาต ครู อาจารย์ จะต้องกำกับดูแลความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา ตามมาตรการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด หากสถานศึกษาใดปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทและเกิดปัญหาบ่อยครั้งให้ผู้บริหารต้นสังกัดของสถานศึกษา
พิจารณาแก้ไขปัญหาให้สามารถยุติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทดังกล่าวโดยเร็ว สำหรับสถานศึกษาเอกชนให้ผู้อนุญาตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเพื่อพิจารณาถอนใบอนุญาตต่อไป
4. ให้สถานศึกษาจัดตั้งภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือในการพัฒนานักเรียนนักศึกษา ประกอบด้วย
4.1 ภาคีเครือข่ายระดับนักเรียน เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน สภานักเรียน สภาเยาวชน เพื่อให้มีการแนะนำและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาและทำกิจรรมในเชิงสร้างสรรค์ร่วมกัน
13
4.2 ภาคีเครือข่ายระดับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของสถานศึกษา โดยเฉพาะนอกเวลาเรียน เช่น การจัดกิจกรรมหลังเลิกเรียน (After School Program) กิจกรรม ยุวตำรวจ
4.3 ภาคีเครือข่ายระดับสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และเกิดความสมานฉันท์ระหว่างสถานศึกษา เช่น เครือข่ายจตุรมิตร เครือข่ายกลุ่มสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนมัธยม
4.4 ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและชุมชน เช่น กลุ่มอาสาสมัครชุมชน อาสาสมัครครูตำรวจ อปพร. กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มสื่อสารวิทยุชุมชน กลุ่มชุมชนในพื้นที่ ขสมก. สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร วัด มัสยิด ประธานชุมชน ประธานหมู่บ้าน ผู้บริหารสถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า กลุ่มประชาชนทั่วไป
4.5 ภาคีเครือข่ายระดับกระทรวง เพื่อบูรณาการความร่วมมือของกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชน
5. จัดให้มีช่องทางการสื่อสารระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา ได้ทันต่อสถานการณ์ เช่น สายด่วน 1579 ข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) และเว็บไซต์ แจ้งข่าว กรณีนักเรียนนักศึกษาขาดเรียน กิจกรรมของสถานศึกษา เป็นต้น
6. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างทั่วถึง รวมทั้งการสอบสวนสถานศึกษาที่ปล่อยปละละเลยให้นักเรียนนักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาท พร้อมรายงานผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประจำทุกวัน
14
มาตรการต่อเนื่อง
1. กระทรวงศึกษาธิการและต้นสังกัดจัดทำคู่มือระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพเพื่อเป็นคู่มือสำหรับการบริหารจัดการในสถานศึกษา เช่น ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการจัดกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา ที่เหมาะสมกับวัย รวมทั้ง สร้างมาตรการตรวจสอบ การดำเนินการและระบบตรวจติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา
2. สถานศึกษาจัดอบรม แนะแนวเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาแก่ผู้ปกครอง สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดต้องจัดให้มีระบบการดูแล คัดกรองความประพฤติ ติดตามและประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด
3. ให้สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จัดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างเป็นระบบในการแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท และให้ต้นสังกัดสนับสนุนงบประมาณ อัตรากำลังคน เครื่องมือและอุปกรณ์ ให้สถานศึกษาอย่างเหมาะสมเพียงพอ
4. ให้สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมอาสาพัฒนาสังคมในชนบทและพื้นที่ทุรกันดาร กิจกรรมเยี่ยมชมทัณฑสถาน สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
5. ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างแกนนำนักเรียนนักศึกษา และครูฝ่ายกิจการนักเรียนนักศึกษา เป็นประจำทุกเดือนโดยหมุนเวียนไปในสถานศึกษาของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งร่วมปรึกษาและทำกิจกรรมร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์
6. ในกรณีที่เกิดเหตุหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา ให้สถานศึกษารายงานต่อต้นสังกัดทันที ทั้งนี้เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไข ป้องกัน และระงับเหตุได้อย่างทันการณ์
7. ให้มีการบูรณาการและพัฒนาหลักสูตรทุกระดับการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี มีความภาคภูมิใจในตนเอง เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น มีความอดทนและมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสา มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงบวกและรู้จักการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รวมทั้งมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
8. ส่งเสริมให้มีการจัดทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และศึกษาองค์ความรู้จากผลการวิจัยของต่างประเทศและในประเทศ ในการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความยั่งยืน
15
มาตรการทางสังคม
1. รัฐต้องส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาโดยผนึกกำลังให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจังในการสร้างความเข้าใจ สร้างเจตคติ และค่านิยมที่ถูกต้องเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. ผู้ปกครอง บุคคลในสังคมทุกสาขาอาชีพ หน่วยงานของรัฐและเอกชน และสถาบันครอบครัว ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนนักศึกษา และเยาวชน
3. สื่อมวลชนทุกแขนงต้องส่งเสริมข่าวสารข้อมูลนักเรียนนักศึกษาที่ทำความดี ให้มากและต่อเนื่อง ลดการเสนอข่าวสารข้อมูลที่ยั่วยุและส่งเสริมค่านิยมในความรุนแรงเนื่องจากปัจจุบันค่านิยมของวัยรุ่นชอบเลียนแบบค่านิยมที่ไม่เหมาะสม
มาตรการทางกฎหมาย
1. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา และเยาวชนมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง
2. กรณีบทบัญญัติในกฎหมายใดไม่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ดังกล่าว ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายเสนอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
สรุปได้ว่า
ปัญหาการทะเลาะวิวาทไม่ใช่ปัญหาที่ผู้ปกครองหรือทุกคนในสังคมจะมองข้ามเราควรเอาใจใส่เด็กและนักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้นเพราะเด็กเหล่านี้คืออนาคตของชาติในวันข้างหน้า
16
จากการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ว่า
ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้น จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่นและยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง และทำให้เด็กวัยรุ่นก่ออาชญากรรมโดยไม่มีใครหยุดพวกเขาได้
การที่พวกเขาทะเลาะกันเกิดจากหลายๆสาเหตุซึ่งเป็นสาเหตุที่แก้ไขได้โดยเฉพาะผู้ปกครอง ผู้ปกครองต้องให้ความรักต่อเด็กวัยรุ่นเอาใจใส่พวกเขาเพราะการที่ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่พวกเขาจึงทำให้พวกเขาโดดเดียวและไม่มีใครอบรมพวกเขาให้ความอบอุ่นแก่พวกเขาเขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวแล้วเขาจะไม่ก้าวร้าวต่อผู้ปกครองและบุคลรอบข้างผู้ปกครองต้องช่วยกันเอาใจใส่พวกเขามันอาจทำให้ปัญหาการทะเลาะวิวาทลดลงได้และทำให้สังคมไทยหน้าอยู่ยิ่งขึ้น

ที่มาข่าว
https://www.facebook.com/ruksankom/posts/535696413204466


Photo Sharing and Video Hosting at Photobucketการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์   ในวัยรุ่น ปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญหาหนึ่ง เนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี วัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งความเชื่อทางเพศที่ผิดๆ ดังนั้นการเรียนรู้ และเข้าใจผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ต่อพฤติกรรมทางเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการสร้างความตระหนักในตนเอง ตลอดจนการใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket  ๑.  ความหมายของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
        การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  หมายถึง  สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket  ๒.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น อันก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
๒.๑  การเปิดโอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น
   การเปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีหลายประการ เช่น การเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และรับอาหารจากคนแปลกหน้า การเดินทางตามที่เปลี่ยว มืด สถานที่ไม่ปลอดภัย
๒.๒ การเปิดเผยอารมณ์ทางเพศ
   การเปิดเผยอารมณ์ทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศแก่ผู้พบเห็น เช่น การเปิดเผยสัดส่วนร่างกายด้วยการสวมเสื้อผ้ารัดรูป โชว์สัดส่วนจนเป็นที่สะดุดตาและยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket๓.ปัญหาและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
   การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะหญิงหรือชายหรือเกิดขึ้นเฉพาะฝ่ายเดียว กรณีเมื่อฝ่ายหญิงถูกข่มขืน หรือฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวมีผล ดังนี้
๓.๑ ปัญหาทางด้านร่างกาย
    ผู้ที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนใหญ่พบว่ามีอายุยังน้อย ซึ่งมีสภาพร่างกายที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ หรือไม่พร้อมกับสภาพของการตั้งครรภ์ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราเสี่ยงต่อการตาย และการเจ็บป่วย เช่น การที่กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไปไม่สามารถคลอดโดยวิธีธรรมชาติได้ การขาดความรู้ และความพร้อมต่อการเตรียมตัวเป็นมารดา เป็นต้น
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket๔. การหลีกเลี่ยงการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
    การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์จากปัญหาและผลกระทบดังกล่าว นักเรียนจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้
๔.๑ การปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
    การปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น การไม่เที่ยวเตร่ตามสถานเริงรมย์ต่างๆ การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ การไม่คบหาบุคคลแปลกหน้า การไม่เดินในที่เปลี่ยวและมีอันตราย การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต การเลือกคบเพื่อนที่ดีเป็นต้น
๔.๒ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง
    การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง เช่น การแต่งกายรัดรูป การเปิดเผยสัดส่วนในที่สาธารณชน ตลอดจนการแสดงออกทางด้านกิริยา ท่าทางที่ยั่วยวนไม่เหมาะสม เช่น การ๔กเนื้อต้องตัว โดยการโอบ การกอด การจูบ เป็นต้น
 ๔.๓ รู้จักทักษะการปฏิเสธ
    การรู้จักการปฏิเสธ เป็นการช่วยลดความต้องการทางเพศได้ เช่น คำว่า "ไม่ หยุด อย่า" ทั้งนี้ต้องเป็นการปฏิเสธที่มาจากความตั้งใจจริงที่จะหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองมากกว่าการเสแสร้งยั่วยวนหรือส่งเสริมอารมณ์ทางเพศมากขึ้น ดังนั้น ทักษะการปฏิเสธจะต้องทำด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ เข้มแข็ง และมีความมั่นคง พร้อมทั้งการแสดงท่าทางในการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ขณะนั้น เพื่อเปลี่ยนกิริยาท่าทางการแสดง หรือความรู้สึกทางเพศที่เกิดขึ้นให้ผ่อนคลาย หรือหมดไป
๔.๔ รู้จักทักษะการต่อรอง
     การปฏิเสธเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจไม่เกิดผล การรู้จักการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยรู้จักการต่อรองด้วยวิธีการต่างๆ อาจจะโดยเสนอกิจกรรมอื่นๆ ที่ดีกว่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่น การขอไปเปิดโทรทัศน์ขณะที่กำลังถูกเพื่อนชายโอบกอด การหลีกเลี่ยงการอยู่สองคนตามลำพัง โดยการไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นต้น
๔.๕ รู้จักการคุมกำเนิด
    การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ การคุมกำเนิดมีหลายวิธี การรู้จักเลือกวิธีในการควบคุมกำเนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมความสะดวกของแต่ละคน แต่การรู้จักการคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย เป็นวิธีการที่สะดวกประหยัด ได้ผลดีทั้งการป้องกันการตั้งครรภ์ และการปลอดภัยจากโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์แต่ขณะเดียวกัน การรู้จักวิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะถุงยางอนามัยที่หมดอายุ และวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง อาจก่อปัญหาขึ้นได้
๔.๖ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว
    ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว เป็นการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัยรุ่น ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในครอบครัวจะสร้างความรัก ความผูกพัน ความเข้าใจ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวัยรุ่น ตลอดจนการยึดมั่นเรื่องการรักนวลสงวนตัวก่อนถึงการแต่งงาน ก็จะช่วยลดพฤติกรรมที่เสี่ยงได้    

ที่มาข่าว  http://pond1995.exteen.com/page-3

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรทำให้เสียอนาคตลำบากไม่มีงานทำ ตบตีกัน
แย่งสามีกันบ่อยๆ เป็นเด็กไม่ดีทำให้เสียประวัติทำให้ถูกไล่ออกจาก
โรงเรียน


วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

                        

   หัวข้อการวางแผน



1. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำงาน มีหัวข้อดังต่อไปนี้
    - ปัญหาการติดยาเสพติดของวัยรุ่น
    - ปัญหาประชาชนบางส่วนไม่มีงานทำ
    - ปัญหาระบายน้ำและท่อน้ำขัง
    - ปัญหาถนนคับแคบชำรุดเสียหาย
    - ปัญหาทางเท้ามีจำนวนไม่พวงพอและไม่ได้มาตรฐาน

2. แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ กลุ่มของเรามีเพียง 2 คน เราจึงแบ่งหน้าที่กันดังนี้
    - ด.ญ.กรรภิรมย์ พนอำพน เป็นคนไปศึกษาข้อมูลเรื่อง...ปัญหาเสพยาเสพติดของวันรุ่นและ
      ปัญหาประชาชนบางส่นไม่มีงานทำ
    - ด.ญ.อรอมล สังข์ทอง เป็นคนไปศึกษาข้อมูล เรื่อง...ปัญหาระบายน้ำและท่อน้ำขังและ
      ปัญหาถนนคับแคบชำรุดเสียหาย
    - ร่วมกันรับผิดชอบต่างคนต่าทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายและ อีก 1 หัวข้อ
      เรารับผิดชอบร่วมกัน เรื่อง ... ปัญหาทางเท้ามีจำนวนจำนวนไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน

3. ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือจากที่ใดก็ได้ เช่น ในหนังสือ สอบถามจากบุคคล
     และในต่างๆ  เป็นต้น

4. รวบรวมข้อมูลที่หามาได้

5. เสนออาจารย์ ให้ท่านดูว่าข้อมูลมีการผิดพลาดหรือต้องแก้ไขอย่างไร

6. ถ้าข้อมูลผิดพลาดต้องนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น

7. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำข้อมูลมาเซฟใส่คอมพิวเตอร์หรือใน Flash Drive